วิธีเลือกปลั๊กพ่วงไฟฟ้า
วิธีเลือกปลั๊กพ่วงไฟฟ้า การเลือกปลั๊กไฟสำคัญกว่าที่คิด รู้หรือไม่ว่ารางปลั๊กไฟแทบจะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทุกบ้านต้องมี และคนส่วนใหญ่มักคิดว่าจะใช้แบบไหนก็ได้ เลือกอันที่ถูกที่สุดก่อน ก็น่าจะใช้ได้เหมือนกัน แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าคิดแบบนี้คิดผิดเต็มๆ เพราะของถูกและดีไม่มีในโลก ปลั๊กไฟตัวเดียวอาจเป็นภัยเงียบที่ทำให้ไฟไหม้บ้านทั้งหลังได้ วันนี้จะมาแนะนำวิธีการเลือกซื้อรางปลั๊กไฟให้ได้มาตรฐาน และปลอดภัยไปพร้อมกัน แต่ก่อนอื่น มาทำความรู้จักกับปลั๊กพ่วงแต่ละประเภทกันก่อน
ปลั๊กพ่วงมีกี่ประเภท?
แบบที่ 1 ปลั๊กสามตา หรือปลั๊กพ่วง 2 ขา ชื่อนี้เรียกกันมานานแล้ว
ที่เรียกว่าปลั๊กสามตาเพราะเกิดจากรางปลั๊กไฟในสมัยก่อนที่มีรูเสียบอยู่ 3 รู
ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่าปลั๊กสามตา ใช้งานได้ทั่วไป เช่น เสียบกับพัดลม
ชาร์จมือถือ แท็บเล็ตแบบที่ 2 ปลั๊กโรลสายไฟ ปลั๊กเป็นแบบม้วนสำหรับเก็บและดึงสายไฟ
ออกมาใช้งานในเครื่องเดียว มักใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายเครื่องพร้อมกันในบริเวณกว้าง
เช่น การเสียบปลั๊กพัดลมหลายตัวในงานเลี้ยงรอบบ้าน
แบบที่ 3 ปลั๊กบล็อกยางสนาม วัสดุเป็นยางลดแรงกระแทก พกพาสะดวก
ใช้งานได้นาน รูปทรงเรียบง่าย ส่วนใหญ่ใช้กับงานช่าง เช่น งานเลื่อยไม้ งานเหล็ก
แบบที่ 4 ปลั๊กกรองไฟ เป็นปลั๊กที่มีราคาสูง มีเต้าเสียบที่สามารถรองรับได้ถึง 8
เต้ารับ มีฟังก์ชั่นช่วยกรองสัญญาณภาพและเสียง ทำให้ไม่มีสัญญาณรบกวน
อีกทั้งยังป้องกันไฟกระชากได้เป็นอย่างดี มักใช้ในโฮมออฟฟิศ
หรือมินิฮอลล์ที่จัดงานรื่นเริง เช่น เสียบจอ LED เครื่องเล่นเพลง เครื่องเสียง
แบบที่ 5 ปลั๊กกันไฟกระชาก เป็นปลั๊กที่มีคุณสมบัติป้องกันไฟกระชากจากฟ้าผ่า
หม้อแปลงระเบิด มันจะรวมวงจรป้องกันไฟกระชากไว้ด้วย ใครที่คิดจะใช้ปลั๊กไฟ
แบบนี้ควรติดตั้งสายดินไว้ด้วยเพื่อความปลอดภัย มักใช้ในบ้านกับงานทั่วไป เช่น เสียบทีวี
ตู้เย็นนี่เป็นบทสรุปง่ายๆ เกี่ยวกับประเภทของปลั๊กไฟและเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง
และวิธีการใช้งาน
7 วิธีเลือกซื้อปลั๊กพ่วง เลือกอย่างไร ให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย
1. สัญลักษณ์ มอก. มีสัญลักษณ์มาตรฐาน มอก. ปลั๊กไฟ (มอก. 2432-2555)
บนบรรจุภัณฑ์ และบนผลิตภัณฑ์
2. เต้ารับต้องเป็น 3 ขั้ว โดยมีม่านนิรภัยปิดทุกรูของเต้ารับเพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอม
และมีขั้วต่อสายดิน
3. เต้ารับต้องเป็น 3 ขากลม โดยทั้ง 3 ขาไม่สามารถหมุนออกได้
และฉนวนป้องกันกระแสไฟฟ้าที่ฐานของขาปลั๊ก
เพื่อป้องกันหากนิ้วไปโดนฐานของขาปลั๊กไฟ และที่สำคัญต้องมีสัญลักษณ์แสดงเลขที่
มอก. 166-2549 ด้วย
4. ปลั๊กพ่วงหรือรางปลั๊กไฟ ต้องทำจากวัสดุไม่ลามไฟ
เช่น พลาสติก AVC พลาสติก ABS หรือโพลีคาร์บอเนต ที่ผ่านมาตรฐาน UL94
5. เบรกเกอร์ป้องกันกระแสเกิน หากเต้ารับมี 3 ช่องขึ้นไป
ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินหรือเบรกเกอร์เพราะเมื่อกระแสเกินเบรกเกอร์จะตัดไฟ
อัตโนมัติ
6. มาตรฐานการเดินสายต้องเป็นสายกลม ชนิดสามขั้ว
แรงดันของสายไฟไม่ควรต่ำกว่าเต้าเสียบและเต้ารับ และมีเลขที่ มอก. 11-2553
และที่สำคัญคือต้องไม่ชำรุด หรือเสีย.
7. สวิตช์ไฟฟ้าบนปลั๊กพ่วงอาจมีหรือไม่มีก็ไม่มีปัญหา มันเป็นอุปกรณ์เสริมบนแผงจ่ายไฟ
เหมือนกับช่อง USB ถ้ามีต้องได้รับการรับรอง มอก. 824-2551 หรือ IEC61058
เมื่อซื้อสายไฟต่อพ่วง อาจมีบางสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเยอะ แต่เพื่อความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สิน ควรเลือกดีๆ จะสบายใจและปลอดภัยกว่าอย่างแน่นอน
สนใจอ่านต่อได้ที่นี้ : แนะนำอุปกรณ์ไอที
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น